Categories
กีฬาเอ็กซ์ตรีม

เคอร์ลิง (Curling) กีฬาแปลกแต่ลุ้นแรงมาก

หากคุณเป็นแฟนมหกรรมกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว และติดตามเว็บไซต์ Fun88 Thai เพื่อร่วมทายผลกีฬารายการใหญ่ๆ อยู่เป็นประจำคงจะได้เห็นกีฬาที่ชื่อว่า เคอร์ลิง (Curling) ทำการแข่งขันผ่านตากันอยู่บ้าง กีฬาแปลกที่ต้องใช้ไม้ถู ๆ ไปบนพื้นลานน้ำแข็ง และเห็นวัตถุลักษณะคล้ายหม้อน้ำไหลอยู่บนพื้น ช่างสร้างความฉงนให้ต้องติดตาม คุณรู้หรือไม่ว่าเจ้ากีฬาเคอร์ลิงนี้ก็จัดว่าเป็นกีฬาเอ็กซ์ตรีมชนิดหนึ่งด้วยเช่นกัน แม้ความหวาดเสียวจะสู้กีฬาชนิดอื่นไม่ได้ แต่ก็ทำให้ลุ้นกับผลการแข่งขันได้ไม่น้อยเลย

ทำความรู้จักกับ เคอร์ลิง (Curling) กันก่อน

เคอร์ลิงเป็นกีฬาประเภททีมที่มีผู้เล่นในทีม 3-4 คน เริ่มจากผู้เล่นแต่ละทีมเริ่มผลักอุปกรณ์ที่เป็นก้อนหินแกรนิตที่ เรียกว่า สโตน (Stone)ให้ไหลไปบนพื้นลานน้ำแข็ง เพื่อให้ก้อนหินนั้นเข้าใกล้เป้าหมายที่แบ่งศูนย์กลางออกเป็นสี่ชั้น ที่เรียกว่า เฮ้าท์ (House) เป้าหมายคล้ายการเล่นเปตอง แต่เคอร์ลิงจะมีผู้เล่นที่ช่วยกันใช้อุปกรณ์คล้ายไม้ถูพื้นถูไปบนลานน้ำแข็งเพื่อบังคับทิศทางให้เจ้าสโตนเคลื่อนที่ไปใกล้เป้าหมาย ขึ้นอยู่กับการวางแผนและการควบคุมแรงเสียดทานของพื้นน้ำแข็งที่มีต่อก้อนหินที่ไถลบนพื้น เพื่อให้ได้คะแนนมากที่สุด แม้เคอร์ลิงจะเป็นกีฬาที่ไม่ได้เน้นการปะทะทางร่างกาย แต่ผู้เล่นก็มีความจำเป็นจะต้องฝึกฝนตัวเองให้เกิดความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแขน กล้ามเนื้อหลัง รวมไปถึงลำตัวเพื่อที่จะสามารถใช้ทักษะการถูพื้นน้ำแข็งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความเป็นมาของกีฬาที่ใครต่างแซวว่าเป็นกีฬาแม่บ้านนี้ มีการค้นพบหลักฐานว่าเกิดขึ้นในประเทศสกอตแลนด์ ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเป็นอุปกรณ์การเล่นคือก้อนหินแกรนิตที่สลักปี ค.ศ. 1511 และมีบันทึกของทนายความชาวสกอตแลนด์ที่บันทึกถึงการแข่งขันเคอร์ลิงครั้งแรกเมื่อปี 1541 เอาไว้ด้วย ซึ่งเป็นการแข่งขันเคอร์ลิงระหว่างบาทหลวงและญาติ ๆ ที่โบสถ์ Paisley Abbey และคำว่า เคอร์ลิงก็ถูกเรียกเป็นชื่อของกีฬาชนิดนี้เป็นครั้งแรกในเมืองเพิร์ธ ประเทศสกอตแลนด์ ตั้งแต่ปี ค.ศ.1620 เป็นต้นมา           

เคอร์ลิง กีฬาแห่งการแสดงน้ำใจ

สิ่งที่ทำให้กีฬาเคอร์ลิงแตกต่างจากกีฬาประเภทอื่น ๆ อย่างเด่นชัดก็คือหลักน้ำใจนักกีฬาที่ดี ที่เรียกว่า “Spirit of Curling” ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่นักกีฬาเคอร์ลิงจะใช้แสดงน้ำใจต่อคู่ต่อสู้ หลังจากทำการแข่งขันกันแล้วเสร็จจนได้ผู้ชนะ นักกีฬาเคอร์ลิงจะไม่มีการว่ากล่าวฝ่ายตรงข้ามเรื่องความผิดพลาด และไม่แสดงความดีใจจนออกนอกหน้าหรือแสดงกิริยาที่แสดงความเยาะเย้ย รวมถึงการฉลองชัยชนะบนลานน้ำแข็งนั้นจะไม่เกิดขึ้นจนกว่าจะมีการแข่งขันจนได้ทีมผู้ชนะเป็นทีมสุดท้ายของการชิงแชมป์ ซึ่งจะเป็นการร่วมสรรเสริญทีมผู้ชนะอย่างยิ่งใหญ่เลยทีเดียว

เมื่อมีการติดต่อทางการค้าระหว่างประเทศ วัฒนธรรมการเล่นกีฬาเคอร์ลิงก็ได้รับการถ่ายทอดและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ได้มีการกำหนดกติกาการเล่นขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ.1838 เคอร์ลิงได้รับการบรรจุเข้าเป็นหนึ่งในมหกรรมกีฬาระดับโลกอย่างกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาว ครั้งที่ 1 ที่เมืองซาโมนิกซ์ ประเทศฝรั่งเศส ในปี ค.ศ.1924 และได้ถูกยกเลิกไป จนกระทั่งมีการนำกีฬาชนิดนี้ กลับมาแข่งขันใหม่อีกครั้ง ในปี 1988 เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน